โรคไหล่ติด
📍โรคไหล่ติด เป็นแล้วจะรักษาอย่างไรได้บ้าง มาดูกันค่ะ 🤔❓
✨ การรักษาไหล่ติดด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัดจะประกอบไปด้วยดังนี้
1️. การรักษาด้วยเครื่อง Ultrasound
เพื่อลดอาการปวดและอาการตึงของกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อไหล่
2. LASER
เป็นเครื่อง HIGH LASER POWER ใช้ลดอาการอักเสบของเอ็นข้อไหล่ได้
3️. การขยับ ดัด ดึงข้อต่อ
เป็นหัตถการที่ใช้ในการรักษาอาการไหล่ติด เมื่อทำการขยับ ดัด ดึงข้อต่อแล้วจะสามารถเพิ่มองศาข้อไหล่ที่มีอาการติดได้ สามารถยกแขนได้ดีขึ้น ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆได้ดีขึ้น
4️. การยืดกล้ามเนื้อและการออกกำลังกาย
เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ ไม่ให้อาการไหล่ติดกลับมาเป็นซ้ำได้อีก
More from this accountSee all
🧐 Chin out คืออะไร Chin out คืออาการที่กระดูกสันหลังส่วนคอยื่นออกไปข้างหน้ามากกว่าปกติ ทำให้บริเวณคอและไหล่ต้องรับแรงกดทับมากขึ้น เกิดแรงตึงเครียดต่อกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังส่วนคอ และทำให้กล้ามเนื้อไม่สมดุลกันเนื่องจากกล้ามเนื้อบางกลุ่มต้องรับน้ำหนักมากกว่า ส่งผลให้เกิดอาการปวดตามมาได้ ▶️ สาเหตุของ Chin out เกิดจากการทำงานที่ไม่สมดุลกันของกล้ามเนื้อโครงร่าง บางมัดตึงมากจนหดสั้น บางมัดอ่อนแรงเกินไป ทำให้ลักษณะโครงสร้างร่างกายภายนอกของเราเปลี่ยนแปลงไป หรือที่เรียกกันว่า poor posture นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากสาเหตุที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง อันเป็นผลจากขาดการออกกำลังกายและจากไลฟ์สไตล์ชีวิตสังคมก้มหน้าเล่นโทรศัพท์ติดต่อกันนาน ๆ เป็นประจำ การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ โดยไม่มีการพัก รวมไปถึงการแบกสะพายกระเป๋าที่มีน้ำหนักมากเกินไปเป็นระยะเวลานานๆ 📌 ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิด Chin out คือลักษณะการทำงานและพฤติกรรมการทำงานของบุคคล ลักษณะการทำงานที่เสี่ยงต่อการเกิด Chin out มักเป็นงานที่อยู่ในท่าก้มการนั่งทำงานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อิริยาบถเดิมซ้ำๆมีการเคลื่อนไหวน้อย ✨ การรักษาทางกายภาพบำบัด 💁🏻♀️ 1. Manual release technique 👍🏻คือ การใช้เทคนิคเฉพาะทางกายภาพบำบัด กด ยืด คลายกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และเส้นประสาท ที่เหมาะสมกับอาการที่เป็น 2. Ultrasound therapy 🩺 เป็นการใช้เครื่องมืออัลตราซาวด์ เพื่อลดปวด ลดอักเสบ และกระตุ้นการไหลเวียนในกล้ามเนื้อ 3. Electrical stimulation therapy ⚡️เป็นการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อหลัง ช่วยลดปวดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ 4. Stretching and Exercise 🏃🏻♀️โดยนักกายภาพบำบัดจะมีการแนะนำเทคนิคการยืดกล้ามเนื้อและการออกกำลังกายที่เหมาะสมและถูกวิธี เพื่อปรับโครงสร้างของแต่ละบุคคล ซึ่งจำเป็นอย่างมากในรายที่มีอาการปวดเรื้อรัง 5. ปรับท่าทาง พฤติกรรมเพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ
ปวดสะโพกร้าวลงขา บางครั้งมีชาร้าวลงขาด้วย มันเกิดจากอะไรกันนะ🤨❓ ▶️มันคืออาการของ "Piriformis syndrome" นั่นเองงงง💁♀️✨ ▶️สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อ piriformis ที่อยู่บริเวณสะโพก ไปกดทับเส้นประสาท sciatic nerve จากการนั่งทำงานนานๆ หรือนั่งขับรถติดต่อกันหลายชั่วโมง🚘⏱ ▶️อาการแสดงของPiriformis syndrome - ปวดบริเวณสะโพก หรือมีอาการปวดร้าวลงขา ในบางรายอาจมีอาการชาร่วมด้วย - ปวดมากเมื่อนั่งนานๆ พอลุกขึ้นยืนแล้วอาการเบาลง - มีอาการปวดร้าวไปที่ขาถึงปลายเท้า หรืออาจมีอาการปวดร้าวที่หลังร่วมด้วยได้
อาการแบบนี้ เป็นรองช้ำหรือเปล่านะ 🤔❓ ✨ หลายท่านที่มีอาการเจ็บส้นเท้า อาจจะไม่แน่ใจว่าเป็นรองช้ำอักเสบหรือเปล่า วันนี้แอดมินจะมาแนะนำการสังเกตุอาการเบื้องต้น เพื่อจะได้เข้ารับการรักษาได้ทันท่วงทีนะคะ 1. มีจุดกดเจ็บบริเวณส้นเท้าหรือฝ่าเท้า 2. มีอาการปวดมากเมื่อตื่นลุกขึ้นในตอนเช้า 3. มีอาการปวดมากขึ้นเมื่อยืนหรือเดินนานๆ 4. หลังออกกำลังกายมีปวดส้นเท้าหรือฝ่าเท้า
โรคข้อเข่าเสื่อม มีวิธีรักษาด้วยกายภาพบำบัดทำอย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ 🤔❓ ✨ การรักษาโรคเข่าเสื่อมด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัดจะประกอบไปด้วยดังนี้ ▶️1. การประคบอุ่น เพื่อลดปวดและคลายกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อเข่า ▶️2. การยืดคลายกล้ามเนื้อและขยับข้อต่อโดยนักกายภาพ ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม มักจะมีอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณหลัง และขา จึงจำเป็นต้องมีการคลายกล้ามเนื้อร่วมด้วย และการขยับข้อต่อเบาๆ เพื่อลดอาการปวด และเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่า ▶️3. การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด ได้แก่ Ultrasound, Laser, Electrostimulation เพื่อลดอาการปวด อาการอักเสบ และการตึงตัวกล้ามเนื้อ ▶️4. การออกกำลังกาย ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม มักจะมีกำลังกล้ามเนื้อขาลดลง หรือมีการลงน้ำหนักเวลายืน เดินที่ไม่ถูกต้องส่งผลให้มีการบาดเจ็บข้อเข่าซ้ำๆได้ จำเป็นต้องมีการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ ทั้งกล้ามเนื้อรอบๆข้อเข่า กล้ามเนื้อสะโพก และกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว เพื่อลดแรงที่จะกระทำที่ข้อต่อ และมีฝึกการลงน้ำหนักที่ถูกต้อง เพื่อลดการบาดเจ็บซ้ำในอนาคต
เพราะอะไร ??? …….ทำไมถึงชาที่มือ🤔❓ ▶️อาการชาเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ สามารถเกิดได้ขึ้นได้ทุกส่วนในร่างกาย และมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งอาการชาที่มือสามารถทำการรักษาได้โดยใช้วิธีทางกายภาพบำบัด จะเป็นอาการชาที่เกิดจาก.. ❤️ รากประสาทถูกกดทับ จากกระดูกต้นคอเสื่อมหรือหมอนรองกระดูกเคลื่อน ❤️โรคกล้ามเนื้อ เช่น โรคออฟฟิศซินโดรม เนื่องจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทหรือการไหลเวียนเลือดไปยังเส้นประสาท อาจพบอาการชาร่วมกับอาการปวดกล้ามเนื้อ ❤️โรคข้ออักเสบ ที่ส่งผลต่อเส้นประสาทบริเวณใกล้เคียงกับข้อ ทำให้มีอาการชาร่วมด้วยได้ ❤️การกดทับของเส้นประสาทในแขน ข้อศอก ข้อมือ โดยมักพบในตำแหน่งที่เส้นประสาทอยู่ตื้น และสัมพันธ์กับการใช้มือท่าเดิมนานๆ ซ้ำๆ เช่น ทำงานคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน ใช้มือและนิ้วเล่นโทรศัพท์นานๆ ถือของหนัก นักกีฬาที่ต้องใช้มือหรือข้อมือเป็นหลัก ❤️การบาดเจ็บที่เส้นประสาทโดยตรง เช่น ได้รับอุบัติเหตุ ทั้งนี้ ขึ้นกับตำแหน่งของเส้นประสาทที่ถูกรบกวนด้วย โดยมักจะมีอาการชาแบบสูญเสียความรู้สึกและอ่อนแรงร่วมด้วย ❤️โรคทางพันธุกรรม ที่ทำให้เส้นประสาทหรือปลอกประสาทส่วนปลายเสื่อม เช่น Charcot Marie Tooth Syndrome โดยผู้ป่วยมักมีประวัติคนในครอบครัวมีอาการเกี่ยวกับปลายประสาท มักมีอาการผิดรูปของเท้าหรือมือร่วมด้วย ❤️ภาวะเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบ มักมีความเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยทางกาย เช่น ปลายประสาทอักเสบจากโรคเบาหวานหรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ✨ เมื่อมีอาการชา อย่าปล่อยทิ้งไว้นาน ควรรีบทำการปรึกษา ตรวจประเมินอาการ และทำการรักษาให้เร็วที่สุด✨
📌ในปัจจุบันพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานมีความเกี่ยวข้องกับการใช้งาน Smartphone มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา คนวัยทำงาน หรือแม้แต่ผู้สูงอายุ มีก้มหน้ากดมือถืออยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เกิดปัญหาปวดที่บริเวณคอ บ่า ข้อมือ หรือมีอาการปวดตามนิ้วมือเพิ่มขึ้น🙌🏻 ดังนั้น PB clinic จะขอแนะนำวิธีเล่นมือถืออย่างไรไม่ให้ปวดข้อมือมาแนะนำกันค่ะ✨ ▶️1. ถือโทรศัพท์ให้อยู่ในระดับที่สายตามองเห็นโดยที่คอตั้งตรงมากที่สุด โดยยกข้อศอกขึ้นเล็กน้อบ ขนาบข้างลำตัวสบายๆ และคอไม่ยื่น หรือก้มลงมากเกินไป ▶️2. ถือโทรศัพท์ให้ขนานกับข้อมือ ไม่หักข้อมือมากเกินไป ▶️3.พักการใช้นิ้วโป้งในการพิมพ์ เปลี่ยนนิ้วที่ใช้พิมพ์หรือเลื่อนหน้าจอบ้าง เช่น เปลี่ยนใช้นิ้วชี้ในการเลื่อนหรือจิ้มหน้าจอ ▶️4.ไม่นอนเล่นโทรศัพท์เป็นเวลานานๆ
ปวดคอบ่า Office syndrome จะรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัดได้อย่างไรบ้างนะ🤨❓ เรามาดูวิธีการรักษาอาการปวดคอบ่า ปวดหลัง จากการนั่งทำงานเป็นเวลานานๆด้วยกายภาพบำบัดกันค่ะ💁♀️ ✨ 7 ขั้นตอนในการรักษาโปรแกรมลดปวด✨ 1. การซักประวัติและตรวจประเมินเพื่อวิเคราะห์อาการ สาเหตุและปัญหา รวมถึงข้อควรระวังต่างๆของคนไข้ 2. การประคบร้อนหรือเย็น ขึ้นกับอาการของแต่ละคน 3. เทคนิคการขยับข้อต่อเพื่อเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว 4. การใช้ Manual technique เฉพาะทางจากนักกายภาพบำบัด เทคนิคการกดยืดคลายกล้ามเนื้อ ยืดเส้นประสาท ที่เหมาะสม 5. เครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่ช่วยในการลดปวด และเร่งการซ่อมแซมจัดที่บาดเจ็บ ได้แก่ อัลตราซาวด์ เลเซอร์ 6. การกระตุ้นไฟฟ้า หรือเครื่องดึงคอ ดึงหลังที่เหมาะกับอาการของแต่ละคน 7. การยืดกล้ามเนื้อและออกกำลังกายเฉพาะบุคคล ที่ออกแบบโดยนักกายภาพประจำเคส