ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของเมืองจันท์ บ่งบอกถึงความผูกพันของชาวเมืองนี้ที่มีต่อพระเจ้าตาก โดยมีคำกล่าวว่า ถ้าไม่ได้มาสักการะพระเจ้าตาก ก็ถือว่ายังมาไม่ถึงเมืองจันท์ ประวัติ : ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เดิมเป็นศาลไม้อยู่ข้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ต่อมาในปี 2463 สมัย ม.จ. สฤษดิเดชชยางกูร เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรี ได้สร้างศาลขึ้นใม่บรเวณด้านหน้าค่าย ทหารกองพันนาวิกโยธิน คนละฝั่งถนนกับศาลเจ้าพ่อหลักเมือง โดยอาศัยอาคารเป็นศาลาคอนกรีตสี่เหลี่ยมจัตุรมุตข มีบันไดด้านหน้าและด้านข้างรวม 3 ด้าน กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ ภายในเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปซึ่งเป็นเทพเจ้าประจำพระองค์พระเจ้าตาก ขณะนั้นยังไม่มีพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ประดิษฐานเช่นปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2534 ชาวจันทบุรีได้ร่วมกันบริจาคเงินสร้างศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ขึ้นใม่อีกหลัง เป็นศาลทรงเก้าเหลี่ยมคู่ กับศาลเดิม ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เป็นศาลทรงเก้าเหลี่ยม หลังคาเป็นรูปพระมาลา เป็นที่ประดิษฐานพระบรทรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งหล่อด้วยทองเหลืองรมดำผนังภายในเขียนลายพุ่มข้าวบิณฑ์ไว้อย่างสวยงาม ชาวจันทบุรีถือว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระมหากรุณาธิคุณทำให้จันทบุรีเป็นที่รู้จัก และเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การกอบกู้เอกราชคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 ในฐานะเป็นฐานที่มั่นของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในระหว่างการรวบรวมพลรวมถึงเสบียงอาหาร และสถาปนาอำนาจขึ้นใหม่ กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2310 ขณะที่พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ สมเด็จพระเจ้าตากสินหรือพระยาวชิรปราการ (สิน) ในขณะนั้น เล็งเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาต้องแตกพ่ายและตกเป็นของพม่าแน่นอน จึงรวบรวมพลทหารไทย จีน ได้ 500 คน ตีฝ่าวงล้อมพม่าทางทิศตะวันออก โดยต่อสู้กับข้าศึกในระหว่างทางและได้ชัยชนะ สามารถรวบรวมไพร่พลได้มากขึ้น พระยาวชิรปราการเห็นว่าจันทบุรีมีชัยภูมิที่เหมาะสมในทางยุทธศาสตร์ เป็นหัวเมืองชายทะเลที่ปลอดจากสงคราม ทั้งมีความอุดมสมบูรณ์ด้านพืชพันธัญญาหาร รวมทั้งยังเป็นชุมชนชาวจีนแต้จิ๋ว พระยาวชิรปราการมีเชื้อสายจีนแต้จิ๋วและเคยเป็นพ่อค้ามาก่อน จึงมุ่งหวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากชาวจีนเหล่านี้ ดังนั้นจึงใช้เมืองจันท์เห็นที่มั่น และรวบรวมหัวเทืองชายฝั่งทะเลตะวันออกได้ทั้งหมด สามารถต่อเรือรบได้ 100 ลำ มีผู้สวามิภักดิ์มากขึ้นถึง 5,000 คน แล้วกลับไปตีทัพพม่า ขับไล่ออกไปจาก