Mixed media feedSee more
ข้อมูลบัญชีSee more
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วันที่ 1 เมษายน 2543 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายพิเชต สุนทรพิพิธ เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา (คนแรกของประเทศไทย) 12 เมษายน 2543 ได้มีการจัดตั้งสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา 24 สิงหาคม 2550 เปลี่ยนชื่อองค์กรเป็น "ผู้ตรวจการแผ่นดิน" 6 เม.ย. 2560 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยได้บัญญัติให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) เสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่ง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใด ๆ บรรดาที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน หรือความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน หรือเป็นภาระแก่ประชาชนโดยไม่จำเป็นหรือเกินสมควรแก่เหตุ (2) แสวงหาข้อเท็จจริงเมื่อเห็นว่ามีผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนือหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ขจัดหรือระงับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมนั้น (3) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ทราบถึงการที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน ตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ปัจจุบันมีผู้ตรวจการแผ่นดินทั้งหมด 3 คน ประกอบด้วย - พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน - นายบูรณ์ ฐาปนดุลย์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน - นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ตรวจการแผ่นดิน
วิสัยทัศน์ (Vision)See more
“เป็นกลไกหลักในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เพื่อความเป็นธรรมของแผ่นดิน” คำอธิบาย การดำเนินงานในช่วงแผนยุทธศาสตร์ฯ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560 – 2564) มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและความไม่เป็นธรรมให้แก่ประชาชน โดยการพัฒนานวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการและการให้บริการ เพื่อความสะดวก รวดเร็ว การพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพสูง การพัฒนางานด้านวิชาการส่งเสริมและพัฒนาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานมากขึ้น ใช้เวลาทำงานน้อยลง แต่เสร็จสมบูรณ์และเกิดผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น
พันธกิจ (Mission)See more
Basic info
วันเวลาราชการ
- Mon08:30 - 16:30
- Tue08:30 - 16:30
- Wed08:30 - 16:30
- Thu08:30 - 16:30
- Fri08:30 - 16:30
- SatClosed
- SunClosed