Jetanin hospital

Friends 10,464

Jetanin Hospital

ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากเจตนิน มุ่งมั่นพัฒนาบริการให้ความช่วยเหลือเพื่อการมีบุตรมากกว่า 29 ปี ด้วยทีมแพทย์ผู้มีประสบการณ์ และทีมงานนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านตัวอ่อน และ พันธุศาสตร์ ให้การดูแลรักษาด้วยวิธีการทันสมัย และให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด เพื่อให้คุณสามารถมีบุตรเพื่อเติมเต็มครอบครัวที่อบอุ่นสมบูรณ์

Our serviceSee more

ICSI

อิ๊กซี่ ICSI เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ โดยจะคัดเชื้ออสุจิที่แข็งแรงสมบูรณ์เพียงตัวเดียว และใช้เข็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเล็ก ๆ ฉีดตัวเชื้ออสุจิเข้าไปในเซลล์ของไข่โดยตรง โดยวิธี ICSI สามารถเพิ่มอัตราการปฏิสนธิให้ผลเป็นที่น่าพอใจ และช่วยลดปัญหาการปฏิสนธิที่ผิดปกติ เช่น การปฏิสนธิจากอสุจิหลายตัวและอสุจิไม่สามารถเจาะเปลือกไข่ได้เอง เป็นต้น การทำ ICSI เหมาะสำหรับ -ฝ่ายหญิงมีความผิดปกติของท่อนำไข่ที่ตีบหรือตันทั้งสองข้าง -ฝ่ายหญิงมีภาวะตกไข่ผิดปกติ -ฝ่ายหญิงมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือมีพังผืดในอุ้งเชิงกรานมาก -ฝ่ายหญิงมีเปลือกไข่หนา อสุจิไม่สามารถเจาะผ่านเข้าปฏิสนธิได้ -ผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม -ภาวะมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุ -ฝ่ายชายมีปัญหาในเรื่องเป็นหมัน หรือ มีปัญหาด้านปริมาณอสุจิน้อย ตัวอสุจิไม่แข็งแรงหรือไม่สมบูรณ์ สามารถทำการเจาะดูดออกมาจากท่อส่งอสุจิ หรือจากการนำเนื้อเยื่อของอัณฑะมาใช้ -สำหรับคู่สมรสที่อายุยังไม่พร้อมที่จะมีลูกในทันที สามารถฝากตัวอ่อนไว้ก่อนได้ เมื่อไหร่พร้อมสามารถนำตัวอ่อนออกมาละลายและใส่กลับเข้าโพรงมดลูกได้

EGG FREEZING

การฝากไข่ เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้หญิงที่ยังไม่พร้อมที่จะมีบุตรในขณะนี้ด้วยเหตุผลทางการแพทย์ เช่น การรักษาโรคมะเร็ง หรือด้วยเหตุผลทางสังคม เช่น การทำงานหรือการศึกษา ล้วนแล้วแต่ทำให้ความพร้อมในการตั้งครรภ์ถูกเลื่อนระยะเวลาออกไป โดยการเก็บรักษาไข่นั้น ไข่จะถูกนำไปแช่แข็งและเก็บไว้จนกระทั่งพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ ใครบ้างที่ควรฝากไข่ -ผู้หญิงที่ต้องได้รับการรักษาโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น การรักษาด้วยการฉายรังสี หรือการให้เคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งที่อาจส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ -ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของรังไข่ เช่น เนื้องอก ซีสต์ หรือ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวหมดประจำเดือนเร็ว เคยมีประวัติผ่าตัดบริเวณรังไข่มาก่อน -ผู้มีปัญหาด้านพันธุกรรม ชนิดที่ทำให้รังไข่เสื่อมการทำงานเร็ว เช่น Turner syndrome, Fragile X syndrome หรือ ผู้มีประวัติเสี่ยงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเร็ว -ในกรณีที่ทำการรักษาภาวะมีบุตรยาก แต่ผู้ชายไม่สามารถหลั่งอสุจิหรือไม่มีตัวอสุจิในวันที่ทำการเจาะเก็บไข่ ก็สามารถแช่แข็งไข่ไว้ก่อนได้ -ผู้ที่ยังไม่พร้อมมีบุตรในขณะนี้ แต่วางแผนมีบุตรในอนาคต ที่เรียกกันว่า Social egg freezing ซึ่งได้รับความสนใจมากขึ้นในสังคมปัจจุบัน เพราะผู้หญิงวางแผนแต่งงานช้าลงด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น การศึกษา หน้าที่การงาน ซึ่งถือว่าเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการวางแผนการมีบุตรในอนาคต

IUI

การฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก หรือ IUI เป็นวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากที่ทำได้ง่าย โดยการการฉีดเชื้ออสุจิที่ผ่านการคัดกรองเอาแต่ตัวที่แข็งแรงเข้าไปในโพรงมดลูกโดยตรง ในช่วงที่ไข่ตกหรือใกล้กับเวลาที่มีไข่ตกของฝ่ายหญิง เหมาะสำหรับ -ฝ่ายหญิงมีภาวะตกไข่ผิดปกติ -ฝ่ายหญิงมีความผิดปกติของมูกปากมดลูก -ภาวะมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุ -ภาวะมีบุตรยากจากฝ่ายชาย แต่สามารถผลิตอสุจิที่มีความแข็งแรงได้มากกว่า 1 ล้านตัว

PGT

การตรวจคัดเลือกพันธุกรรมก่อนการฝังตัวของตัวอ่อน (PGT) เป็นตรวจวิเคราะห์โรคทางพันธุกรรมในตัวอ่อนได้ก่อนที่จะใส่กลับเข้าโพรงมดลูก วิธีการนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่ความผิดปกติของสารพันธุกรรม เช่น ตรวจหาจำนวนโครโมโซมที่ผิดปกติได้โดยวิธีการที่เรียกว่า PGT-A ใช้ตรวจหาความผิดปกติในระดับยีนโดยวิธี PGT-M และตรวจหาการจัดเรียงตัวใหม่ของโครงสร้างโครโมโซมที่ผิดปกติโดยวิธี PGT-SR เทคโนโลยีการตรวจคัดเลือกพันธุกรรมก่อนการฝังตัวของตัวอ่อนสามารถเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้บุตรที่ปกติสมบูรณ์และลดอัตราการแท้งอันเนื่องมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารกได้ การตรวจ PGT เหมาะสำหรับ? PGT-A เหมาะสำหรับ • ฝ่ายหญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป เนื่องจากมีอัตราความเสี่ยงของการให้กำเนิดบุตรที่มีโครโมโซมผิดปกติสูง • คู่สมรสที่รักษาด้วยวิธีเด็กหลอดแก้วมาก่อน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ • คู่สมรสที่มีประวัติการแท้งบุตรก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ มากกว่า 2 ครั้ง • คนไข้ฝ่ายชาย/ฝ่ายหญิง ที่มีประวัติความผิดปกติทางโครโมโซมในครอบครัว PGT-M เหมาะสำหรับ • คู่สมรสที่เป็นพาหะของโรคทางพันธุกรรม หรือมีเคยมีบุตรที่เป็นโรคทางพันธุกรรม • การถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal recessive ผู้ที่เป็นโรคจะต้องมียีนผิดปกติ 2 alleles ที่ได้รับมาจากทั้งบิดาและมารดา ตัวอย่างเช่นโรคธาลัสซีเมีย หากมียีนผิดปกติเพียง allele เดียว เรียกว่าเป็นพาหะของโรค จะมีสุขภาพแข็งแรงปกติ แต่สามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติให้บุตรในอนาคตได้ • การถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal dominant ผู้ที่เป็นโรคมีพ่อหรือแม่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นโรคด้วย ยกเว้นกรณีที่ผู้นั้นมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นมาใหม่ ซึ่งพ่อแม่จะปกติทั้งคู่ ตัวอย่างเช่น โรคกระดูกอ่อนไม่เจริญเติบโต เป็นต้น • การถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ X-linked ตัวอย่างโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง, โรคตาบอดสี

Country or region: Thailand