รากเทียม
การฝังรากเทียมคืออะไร การฝังรากเทียม คือ การผ่าตัดฝังรากเทียมซึ่งเป็นวัสดุทดแทนรากฟันทำจากไททาเนียม ฝังลงในกระดูกบริเวณที่มีการสูญเสียฟันไป รากเทียมเหมาะกับใคร? การทดแทนฟันด้วยรากเทียมเหมาะกับผู้ป่วยทุกคนที่มีการสูญเสียฟันไป แล้วต้องการ การใส่ฟันทดแทนแบบติดแน่น ในอดีตการใส่ฟันแบบติดแน่นจะสามารถทำได้โดยการทำสะพานฟัน ซึ่งจะต้องมีการกรอฟันซี่ข้างเคียงเพื่อเป็นฟันหลักให้แก่สะพานฟันที่จะใส่ทดแทน ประเภทของการทดแทนฟันด้วยรากเทียม รากเทียมสามารถทำได้ตั้งแต่การทดแทนฟันซี่เดียว หลายซี่ ไปจนถึงการทดแทนฟันที่ถูกถอนไปทั้งปาก นอกจากนี้แล้วรากเทียมยังสามารถใช้ในกรณีช่วยรองรับ และยึดฟันปลอมถอดได้อีกด้วย ข้อดีของการทำรากเทียม ข้อดีหลักของรากเทียมคือ เป็นการรักษาเพื่อทดแทนฟันที่ถอนไป โดยจะไม่มีการสูญเสียเนื้อฟันธรรมชาติของฟันข้างเคียง โดยเป็นการทดแทนฟันที่ประสิทธิภาพการใช้งาน และให้ความสวยงามใกล้เคียงฟันธรรมชาติ นอกจากนี้แล้วยังช่วยรักษากระดูกบริเวณที่ถอนฟันไป ไม่ให้มีการละลายยุบตัวลง ในกรณีที่ทำเป็นฐานฟันปลอมชนิดถอดได้ รากเทียมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานและการยึดติดของฟันปลอมในช่องปาก ข้อเสียของการทำรากเทียม สิ่งที่นับว่าเป็นข้อเสียสำหรับผู้ป่วยในการทำรากเทียมมากที่สุด คือ ผู้ป่วยจะต้องได้รับการผ่าตัด และระยะเวลาการรักษา ทั้งนี้การทดแทนฟันด้วยวิธีอื่น ไม่ว่าจะเป็นฟันปลอมถอดได้ หรือสะพานฟัน จะสามารถทำได้โดยไม่ต้องมีการผ่าตัด แต่การใส่ฟันด้วยรากเทียมจะต้องมีการขั้นตอนของการผ่าตัดเพื่อฝังรากเทียม อย่างไรก็ตามการผ่าตัดนี้ถือเป็นการผ่าตัดเล็กเทียบเท่าได้กับการผ่าฟันคุดเท่านั้น ส่วนเรื่องของระยะเวลาการรักษาจะใช้เวลานานกว่าการใส่ฟันวิธีอื่นๆเนื่องจากหลังจากการฝังรากเทียมจะต้องมีการรอให้กระดูกมายึดติดกับตัวรากเทียมก่อน เป็นเวลา 2-3 เดือนแล้วจึงจะกลับมาทำในส่วนของครอบฟัน ขั้นตอนการรักษา ขั้นตอนการรักษาคร่าวๆ เริ่มการตรวจภายในช่องปากและการถ่ายภาพรังสีเพื่อประเมินปริมาณกระดูกที่มีอยู่ว่ามีมากพอสำหรับการใส่รากเทียมหรือไม่ หากผู้ป่วยมีกระดูกไม่มากพอก็อาจจะต้องมีขั้นตอนการปลูกกระดูกเพิ่มเติมขึ้นมา ขั้นตอนต่อมาคือการฝังรากเทียม จากนั้นจึงทำการพิมพ์ปากเพื่อทำครอบฟันหลังจากที่ฝังรากเทียมไป 2-3 เดือน เมื่อทำการใส่ครอบฟันแล้ว ผู้ป่วยก็จะได้รับการนัดเพื่อการตรวจ